วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กุ้งแม่บ้าน

         ลำตัวป้อมสั้นและโปร่งใส ขนาดความยาว ประมาณ 4 เซนติเมตร บริเวณด้านบนของหัวมีส่วนนูนเป็น โหนกพื้นขรุขระสีขาว ตามลำตัวมีจุดสี ขาวขนาดใหญ่แต้มห่าง ๆ ทางด้านข้าง และมีปื้นทาง ด้านบนกลางหลังและแพนหางสีขาว ตรงปลายหางมีสีส้มขอบดำ ตัวเมียมีลักษณะอ้วน ป้อมกว่าตัวผู้ ถ้ามีไข่จะอุ้งไว้บริเวณหน้าท้อง

        กุ้งแม่บ้านดำรงชีวิตอยู่บริเวณฐานหนวดของ ดอกไม้ทะเล โดยเก็บกินสัตว์และอินทรียวัตถุ ขนาดเล็กตามหนวดของดอกไม้ทะเลเป็นอาหาร ซึ่ง เป็นการทำความสะอาดให้กับดอกไม้ทะเลด้วย

กุ้งพยาบาล


         ลำตัวป้อมสั้น ส่วนปลายใกล้หางเรียวเล็ก ตากลม โต กรียาว หนวดยาว ลำตัวมีสีแดงสลับด้วยลวด ลายจุดและเส้นสีขาว ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

         กุ้งชนิดนี้พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ชอบ ว่ายน้ำไปเกาะอยู่ตามกัลปังหาหรือยอดปะการังเพื่อคอยปลาขนาดใหญ่ว่ายมาให้ มันขึ้นไปไต่ตามลำตัวเก็บกินพาราสิด ตามผิวหนังของตัวปลาเป็นอาหาร ขณะเดียวกัน ปลาใหญ่จะรู้สึกสบายตัวขึ้นเพราะไม่มี เห็บไรคอยรบกวน

กุ้งตัวตลก

       กุ้งตัวตลกเป็นสัตว์น้ำใน Subphylum Crustacea จัดอยู่ใน Order Decapoda ครอบครัว Gnathophyllidae ? ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบทั้งหมด 1 ชนิด ทางทะเล ม. กุ้งตัวตลกเป็นกุ้งขนาดเล็ก ? ขนาดความยาวประมาณ ? 5 ? เซนติเมตร ? เกือบทั้งหมดพบในเขตแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ ? กินดาวทะเลเป็นอาหาร ? กุ้งชนิดนี้มีรายงานว่าหายากมาก ในแต่ละปีมีรายงานว่าพบในทะเลไทยประมาณ 10-20 ตัว พบเฉพาะในฝั่งทะเลอันดามัน เช่น ? หมู่เกาะสิมิลัน หินม่วง-หินแดง ? เป็นต้น ? ปัจจุบัน นักดำน้ำได้นิยมไปดูกุ้งตัวตลก เนื่องจากมีสีสวยงาม มีพฤติกรรมแปลกประหลาด เช่น กุ้งตัวตลกที่กองหินริเชลิว กลายเป็นจุดที่มีนักดำน้ำเข้าไปดูเป็นจำนวนมาก ? เป็นต้น ? นอกจากนี้
กุ้งตัวตลกไม่ใช่เป็นสัตว์เศรษฐกิจด้านการประมง ไม่นำมาประกอบอาหาร แต่ปัจจุบัน ถูกจับมาขายเป็นสัตว์ทะเลสวยงาม ในราคา 500-1,300 บาท

กุ้งกุลาดำ

      กุ้งกุลาดำ หรือ กุ้งม้าลาย (Tiger prawn, Penaeus monodon) เป็นกุ้งทะเล ขนาดประมาณ 18 - 25 ซม. เป็นกุ้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ Penaeidae อาศัยอยู่ในเขตร้อน ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก ห่างออกจากฝั่งและชอบพื้นทะเลที่เป็นดินทราย สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและความเค็มต่ำ เช่น บริเวณป่าชายเลน ได้ดี

      กุ้งกุลาดำมีถิ่นอาศัยแถบน่านน้ำของไต้หวัน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลียและอินเดีย

ปากกาทะเล

 ปากกาทะเล (Sea pen) เป็นญาติแท้ๆกับปะการังอ่อน แต่ที่มีชื่อนี้ก็คงเป็นเพราะรูปร่างหน้าตาคลายกับปากกาขนนกล่ะมั้ง อาศัยตามพื้นทรายในทะเลลึกเกิน 10 เมตร ท่ายื่นปกติ(เหมือนเคารพธงชาติ)ของปากกาทะเลเวลาออกหาอาหาร เค้าตั้งตัวตรงขึ้นมาพร้อมยืดลำตัวและหนวด แต่เมื่อใครมารบกวน ขนหนวดที่เคยผยองก็จำเป็นต้องหดลงรูไปในผืนทราย หลายครั้งที่ยังโชคดีแต่ก็ไม่เสมอไป เพราะบางครั้งอาจถูกจู่โจมจากผู้ล่าตัวฉกาดอย่างทากทะเลจับกินเป็นอาหาร

แส้ทะเล



ลักษณะ
                        
         แส้ทะเล จัดอยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกับปะการังอ่อน เนื่องจากโพลิปมีหนวด 8 เส้น เหมือนกัน แต่ที่แตกต่างจากปะการังอ่อนคือแส้ทะเลและกัลปังหามีกิ่งก้านซึ่งมีแกนแข็ง เพราะมีเกล็ดหินปูนอัดอยู่แน่น พร้อมทั้งมีโปรตีนกอร์โกนิน (gorgonin) แทรก เป็นองค์ประกอบที่ตรงแกนด้วย ทำให้กิ่งโอนเอนตามกระแสน้ำได้ รอบๆ แกนหุ้มด้วยชั้นเนื้อเยื่อที่ค่อนข้างอ่อนนุ่มแต่มีเกล็ดหินปูนฝังอยู่ ชั้นนี้มีช่องเล็กๆ ให้โพลิปฝังตัว

ขนนกทะเล






        ขนนกทะเลจัดอยู่ในกลุ่มซีเลนเตอเรทพวกไฮโดรซัว (hydroaoz) อาศัยอยู่รวมเป็นโคโลนี ที่แตกกิ่งก้าน คล้ายกิ่งไม้เล็ก ๆ หรือแตกแขนงคล้ายขนนก ตัวขนนกทะเลแต่ละตัวเป็นโพลิป (polyp) ขนาดเล็ก หากเป็นช่วงที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ แต่ละโพลิปจะจับเหยื่อกินอาหารจำพวกแพลงค์ตอนขนาดเล็กหรืออินทรีย์วัตถุที่ ล่องลอยอยู่ในน้ำทะเล จากโพลิปตัวหนึ่งจะสามารถส่งอาหารติดต่อไปยังโพลิปอื่น ๆ ภายในโคโลนีเดียวกันได้
       ขนาดของขนนกทะเลความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่โคโลนีที่คล้ายกิ่งไม้มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร อาศัยเกาะอยู่กับปะการังต่าง ๆ หรืออาจเกาะกับเสาสะพานท่าเทียบเรือ หลักโป๊ะ หลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ เป็นต้น บางชนิดอาจมีโคโลนีขนาดสูงถึง 1 เมตร
       ขนนกทะเลเป็นสัตว์มีพิษเช่นเดียวกับปะการังไฟ หากสัมผัสกับผิวหนังของเรา จะทำให้เกิดรอยไหม้เป็นผื่นคัน เนื่องจากเข็มพิษหรือนีมาโตซีส (nematocyst) จากโพลิปของขนนกทะเลมีน้ำพิษอยู่ด้วย นักประดาน้ำและชาวประมงจึงต้องระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับสัตว์ทะเล ชนิดนี้

ปะการังสีดำ

 
 ชื่อวิทยาศาสตร์ :Antipathes sp.
 ชื่อวงศ์ :Antipathidae











 
       ปะการังสีดำอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนี มีลักษณะแตกต่างจากปะการังโดยทั่วไปคือมีการสร้างฐานรองรับ โพลิปเป็นสารจำพวกเขาสัตว์เช่นเดียวกับกัลปังหา แต่จำนวนหนวดแต่ละละโพลิปมีเพียง 6 เส้น รูปร่างของโคโลนีมีลักษณะคล้ายต้นไม้ ขนาดความสูง 2 -3 เมตร แต่โพลิปมีขนาดเล็กเพียง 2 -3 มิลลิเมตรเท่านั้น ปะการังชนิดนี้มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่ลึกของแนวปะการัง

ปะการังหิน





ลักษณะทั่วไป

เป็นสัตว์ทะเลขนาดเล็กที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลำตัวมีรูปทรงกระบอกกลวง ปากอยู่ตรงกลาง มีหนวดอยู่สองข้าง ด้านที่เป็นฐานไม่มีช่องเปิดยึดติดก้อนหินและระหว่างตัวปะการังด้วยกันเอง ปากของตัวปะการังนอกจากจะใช้กินอาหารแล้วยังทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย อีกด้วย สัตว์เล็ก ๆแต่ละตัวจะทำหน้าที่ผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นทีละน้อย ทำนองเดียวกับตัวปลวกสร้างจอมปลวก แต่มีวิธีการผิดกัน ปลวกต้องไปหาวัสดุจากภายนอกสร้างรัง ปะการังสามารถผลิตวัสดุจากตัวของมันเองโดยมีสาหร่ายเซลเดียวพวกซูแซนทอลลี อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการังช่วยผลิตหินปูน โดยขับสารแคลเซียมจากน้ำทะเล การสืบพันธุ์โดยวิธีแตกหน่อเช่นเดียวกับกัลปังหา และการวางไข่เป็นฤดูกาลเพียง 1-2 ปี ต่อ 1 ครั้ง แนวปะการังขนาดใหญ่ที่พบเห็นตามท้องทะเล ต้องใช้เวลานับพันปี หมื่นปีรูปร่าง และสีสันของปะการังแตกต่างกันตามชนิดและสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่

ปะการังดาว



  ชื่อวิทยาศาสตร์ :Astreopora ocellata Bernard
  ชื่อวงศ์ :Acroporidae










 โคโลนีมีลักษณะเป็นก้อน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร หินปูนตัวปะการังมีขนาดต่างกัน ผนังกั้นที่จัดเรียงตัวในแนวรัศมีไม่เจริญ แต่บนผนังกั้นรอบหินปูนตัวปะการังมีหนาม ขณะยังมีชีวิตมักมีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีเขียว ปะการังชนิดนี้เป็นกระเทย เซลล์สืบพันธ์ผสมกันในน้ำทะเล พบเจริญแทรกอยู่ในแนวปะการังบางแห่งทั้งในอ่าวไทยและฝั่งมหาสมุทรอินเดีย

ปะการังสมอง


                                 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Platygyra daedalea,P.lamellina
ชื่อวงศ์ :Faviidae












            ปะการัง สมองร่องยาว มีลักษณะโคโลนีเป็นก้อนและมีร่องเป็นแนวคดเคี้ยวไปมาทำให้ดูคล้ายก้อนสมอง ขนาดความกว้างของร่องประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ภายในร่องมีโฟลิปอาศัยอยู่เรียงกันเป็นแนวตามตามความยาวของร่อง ซึ่งอาจแยกออกไปหลายทางหรือวกวนไปมา ปะการังที่มีชีวิตมักมีเนื้อเยื่อสีเขียว ปะการังสมองร่องยาวเป็นกระเทย และเซลล์สืบพันธุ์ผสมกันในน้ำทะเล ส่วนใหญ่พบอยู่ในบริเวณที่ตื้นของแนวปะการัง

ปะการังเขากวาง



  ชื่อวิทยาศาสตร์ :Acropora spp.
  ชื่อวงศ์ :Acroporidae












              โคโลนีมีลักษณะเป็นช่อที่มีกิ่งก้านแตกออกคล้ายเขากวาง มีตัวปะการังที่อยู่ปลายยอดของกิ่งมีขนาดใหญ่และมักมีสีสันแตกต่างกัน ส่วนตัวปะการังด้านข้างมีผนังเจริญดีเฉพาะด้านนอกทำให้มีลักษณะคล้ายเกล็ด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแต่ละโคโลนีแตกต่างกัน อาจมีความกว้างมากกว่าหนึ่งเมตร ปะการังกลุ่มนี้พบอยู่ทั่วไปในเขตน้ำขึ้นน้ำลงและลึกลงไปจนถึงแนวนอกสุดของ แนวปะการังทั้งในอ่าวไทยและฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ปะการังเขากวางมีอัตราการเจริญเติบโตสูง ส่วนมากเป็นกระเทย และเซลล์สืบพันธุ์ผสมกันในน้ำทะเล ปะการังกลุ่มนี้มีความสวยงามแต่มีความเปราะบางสูง หากนักดำน้ำไม่ระมัดระวัง อาจทำให้ปะการังแตกหักเป็นชิ้นส่วนปะการัง และมักจะตายในเวลาต่อมาเนื่องจากถูกทรายกลบ ปะการังกลุ่มนี้มีความอ่อนไหวมากต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล ซึ่งจะพบว่ามีการตายเป็นจำนวนมากจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่รุนแรงในอ่าว ไทยในปี พ.ศ. 2541